วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความประวัติปลาดุก

 
จำหน่าย พันธุ์ปลาน้ำจืด ทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
(ผู้ใหญ่ประทีปพันธุ์ปลา)
บึงบอระเพ็ด 120/2 หมู่ 3 ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
สนใจติดต่อ
089-856-3941(เจ๊ประนอม)
081-284-8181 (มดดำ)

ราคาเป็นกันเอง
ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีมากกว่า 25 ปี ประกอบกับคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับ ความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่อง พันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืดโดยผู้ใหญ่ประทีปโทร. 089-897-1137
บทความที่น่าสนใจ
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงลูกปลาแบบพัฒนา
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย ความหลากหลายของปลาน้ำจืด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง) ปลาชะโด ปลาบึก
ปลาเสือตอ ปลานิล ปลานวลจันทร์
ปลาสวาย ปลาดุก ปลาสลิด
ปลายี่สก ปลากราย ปลาเทโพ
ปลาไน ปลากระโห้ ปลากดคัง
ปลาทับทิม ปลากะพงน้ำจืด  

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)


พันธุ์ปลาดุก

ขายลูกปลา
ปลาดุกเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย เพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาช่อน จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน แต่ที่เป็นที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี
ประมาณปลายปี พ.ศ. 2530 เกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งจากประเทศลาวเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ (ปลาดุกยักษ์ หรือ ปลาดุกรัสเซีย) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ต่อมานักวิชาการไทยได้ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก อุยเพศเมีย และปลาดุกยักษ์เพศผู้ ได้ปลาลูกผสมเรียกว่า ดุกอุยเทศ หรือ บิ๊กอุย ซึ่งผลที่ได้นั้นบิ๊กอุยเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก ทำให้ปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยได้รับการนิยมและเข้ามาแทนที่ตลาดปลาดุกด้านไป โดยปริยาย

บ่อปลาดุก
ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่ ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่ายระยะเวลา เลี้ยงสั้น เลี้ยง ง่าย อดทนต่อสภาพน้ำได้ดีบริโภคเองในครัวเรือน และมีเหลือจำหน่าย
เลือกพันธุ์ปลาดุกที่จะนำมาเลี้ยง
ปลาดุกที่เลี้ยงใช้
พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ
2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้

การนำปลาดุกมาเลี้ยง

1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป
ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
2. อัตราการเลี้ยง ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
3. การปล่อยปลา แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลง
การปรับสภาพน้ำในบ่อปลา

การเตรียมน้ำ

น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้
การปรับสภาพน้ำ
เปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และ
แร่แม๊กนีเซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการเน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้

การให้อาหารปลา
- เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก
- อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้
- ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน
- ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็น

การถ่ายเทน้ำ
- ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
- ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
- เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
- น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้